
ต้นถั่วปากอ้า เป็นพืชล้มลุก เมื่อโตเต็มที่สูงประมาณ 0.5-1.7 เมตร ภาคตัดขวางของลำต้นคล้ายรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ใบยาว 10-25 เซนติเมตร กิ่งหนึ่งมี 2-7 ใบ และใบมีสีเขียวอมเทาไม่เหมือนกับพืชอื่นๆ ในสกุลเดียวกัน ต้นถั่วปากอ้าไม่มียอดไว้สำหรับเลื้อย ดอกของต้นถั่วยาวประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร มี 5 กลีบ โดยที่กลีบบนและกลีบรองเกสรมีสีขาวล้วน ส่วนกลีบข้างเป็นสีขาวและมีจุดตรงกลางเป็นสีดำ
ฝักถั่วของมันมีขนาดกว้างและมีขนเล็กๆ หนาแน่นปกคลุม มีสีเขียวเมื่อยังอ่อนและเป็นสีน้ำตาลดำเมื่อแก่ ในธรรมชาติฝักถั่วยาว 5-10 เซนติเมตรและมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร แต่จากการพัฒนาการเพาะพันธุ์เพื่อการเกษตรทำให้ฝักยาว 15-25 เซนติเมตรและหนาถึง 2-3 เซนติเมตร ในหนึ่งฝักมีเมล็ดถั่ว 3-8 เมล็ด มีรูปร่างกว้างและแบน ในธรรมชาติเมล็ดคล้ายรูปวงรีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-10 มิลลิเมตร แต่พันธุ์สำหรับเพาะปลูก เมล็ดยาว 20-25 มิลลิเมตร กว้าง 15 มิลลิเมตร หนา 5-10 มิลลิเมตร
ถั่วปากอ้า เป็นธัญพืชแปรรูปที่ใช้ทานเล่นในเวลาว่าง มีสรรพคุณที่หลากหลายและมีประโยชน์ต่อร่างกายมาก ซึ่งมีดังต่อไปนี้
- สารอาหารหลักของถั่วปากอ้า คือ โปรตีน แคลเซียม โพแทสเซียม แมกนีเซียม วิตามินซี
- สรรพคุณของถั่วปากอ้าคือ ช่วยบำรุงม้าม ขับความชื้น ช่วยรักษาอาการแน่นหน้าอก ลดอาการบวมน้ำ
- ถั่วปากอ้าเหมาะสำหรับคนทั่วไป โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคไตอักเสบ ผู้ที่มีอาการบวมน้ำ ผู้ป่วยแผลผุพองและสตรีในวัยที่หมดประจำเดือนแล้ว
- ในถั่วปากอ้ามีสารวิซีน (vicine) ซึ่งเป็นสารพิษจะทำให้เม็ดเลือดแดงแตก เกิดภาวะโลหิตจางเฉียบพลัน จึงไม่ควรทานถั่วปากอ้าดิบ
- ในถั่วปากอ้าอุดมไปด้วยสารโคลีน และฟอสโฟลิพิด ซึ่งสำคัญต่อการปรับสมดุลของสมองและระบบประสาท
- ถั่วปากอ้ามีแคลเซียมและสังกะสี จึงช่วยบำรุงสมองและช่วยบำรุงเกี่ยวกับระบบประสาท ทำให้มีความจำที่ดีขึ้น
- ถั่วปากอ้ามีโปรตีนสูง แต่มีคอเลสเตอรอลไม่มาก จึงช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ
- เส้นใยอาหารในถั่วปากอ้ายังช่วยกระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะและลำไส้ จึงช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ และช่วยรักษาอาการแผลผุพอง
- ผู้ที่ควรหลีกเลี่ยงถั่วปากอ้าคือ คนที่มีลำไส้และกระเพาะอาหารผิดปกติ คนที่แพ้ถั่วปากอ้า คนที่เป็นริดสีดวงทวารหนัก
- เมื่อทานถั่วปากอ้ากับเนื้อวัวและกุยช่าย จะช่วยบำรุงม้าม แก้อาการท้องอืด ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยขับความชื้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น